...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยวสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง...อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช...ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี..

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลักการผลิตเกษตรอินทรีย์ด้านปศุสัตว์

1. หลักการและเหตุผล

การเกษตรเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตเบื้องต้นของมนุษย์ การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หาปลา เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเกษตรแบบผสมผสานใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีพและหาเลี้ยงครอบครัว จนกลายเป็นแบบแผนของสังคมและวัฒนธรรมในการพึ่งพาตนเอง ระบบการเลี้ยงสัตว์หลังบ้านชนิดละไม่มากเกินอาหารที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น การเลี้ยง โค กระบือ ไก่ เป็ด สุกร แพะ ฯลฯ เป็นการลงทุนที่ต่ำ การเลี้ยงไม่ยุ่งยาก โดยมีวัตถุประสงค์หลายประการ ได้แก่ เป็นหลักประกันความอุ่นใจของครอบครัว เป็นมั่นคงทางอาหารมีอาหารบริโภคไม่ต้องซื้อ เป็นออมทรัพย์แหล่งรายได้เมื่อต้องการใช้เงิน หรือลดความเสี่ยงจากพืชผลขายไม่ได้ราคา หรือเกิดภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจน และหนี้สินให้กับเกษตรกรอย่างแท้จริง แต่การผลิตเชิงเดี่ยวเพื่อเศรษฐกิจตัวเงินเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จนั้น เน้นการค้าเพื่อการส่งออก เช่นปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์เชิงอุตสาหกรรม เป็นการผลิตสินค้าขายให้กับผู้ที่อยู่ไกล และใช้ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีที่ต้องซื้อหาจากภายนอกและต่างประเทศ เช่น พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ สารเคมีเร่งการเจริญเติบโต ยากำจัดศัตรูพืช สัตว์ อาหารสัตว์จากแดนไกล แยกกิจกรรมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้ใช้พลังงานจากน้ำและน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างฟุ่มเฟือยในการกิจกรรมตลอดห่วงโซ่สายพานการผลิตถึงผู้บริโภค เป็นการผลิตที่ไม่ยั่งยืน ทำลายความอุดมสมบรูณ์ของดิน แหล่งน้ำและเกิดภาวะมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีผลต่อพืชสะสมสารพิษ สัตว์กินพืชที่มีสารพิษ สัตว์น้ำสะสมสารพิษ มีผลต่อสุขภาพของคนบริโภคก่อให้เกิดมะเร็ง และดื้อยาปฏิชีวนะ อีกทั้งทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ถูกทำลาย เกิดความไม่สมดุลของธรรมชาติซึ่งจะกลับมาทำร้ายมนุษย์ นอกจากนี้เกษตรกรยังยากจนเหมือนเดิม ดังนั้นในระดับสากลจึงเกิดกระแสเรียกร้องให้รัฐและผู้คนตระหนักถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง 3 ด้านคือ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ “ เกษตรอินทรีย์” จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการปรับระบบการผลิตการเกษตร ซึ่งเป็นระบบที่ไม่แยกกิจกรรมปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์ออกจากกัน เป็นการเกษตรที่รวมทุกระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันผู้บริโภคห่วงใยต่อสุขภาพมากขึ้น ความต้องการบริโภคอาหารอินทรีย์ทั่วโลกที่ผลิตจากกระบวนธรรมชาติเพิ่มขึ้นในอัตราประมาณ 10-20% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 25,000 ล้านเหรียญ(ปี2004 ) สินค้าที่สำคัญ คือ เนื้อ นม ไข่อินทรีย์ การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์เป็นรูปแบบใหม่ของการเลี้ยงสัตว์ มีกระบวนการที่สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตของคนในชนบท เป็นการนำวิถีการผลิตแบบเก่าดั้งเดิมมาจัดการใหม่ให้เพิ่มมูลค่า ฉะนั้นจำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตให้มีคุณภาพ สร้างการมีส่วนร่วมที่เข็มแข็ง ทั้งระดับนโยบาย การจัดการรวมพลัง ทุกภาคส่วน สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดผลผลิตใหม่ที่ปลอดภัย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อคนไทยได้บริโภคสิ่งที่ดี ทำให้สุขภาพของคนไทยแข็งแรง สิ่งแวดล้อมดี พึ่งพาตนเองได้ ทำให้เกิดเศรษฐกิจอาหารท้องถิ่น ลดการใช้พลังงานในการผลิตและขนส่งอาหารและวัตถุดิบ ทำให้คุณภาพชีวิตสูงขึ้น ลดรายจ่ายในการรักษาพยาบาล ส่วนการส่งออกจะเป็นเป้าหมายรองเมื่อมีการผลิตที่เพียงพอต่อการบริโภคภายในแล้ว โดยการนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการปฏิบัติ “ เกษตรอินทรีย์” เป็นการผลิตเกษตรที่ผสมผสานระบบการเกษตรทุกระบบ ที่ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ อีกทั้งมีระบบมาตรฐานที่เป็นสากล ทำให้สามารถสร้างความมั่นใจในคุณภาพให้กับผู้บริโภค

สินค้าอาหารอินทรีย์ Organic food เป็นหนึ่งในกระบวนการอาหารปลอดภัย( Food safety ) เป็นอาหารที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด เป็น Premiumfood สำหรับตลาดบน หรือผู้ที่ห่วงใยต่อสุขภาพของตนและผู้มีจิตสำนึกต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกษตรอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีใดๆในกระบวนการผลิต ป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการแปรรูป และการรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ ธรรมชาติ ดังนั้น สินค้า เนื้อ นม ไข่อินทรีย์ จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง ประชาชนมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง คนดื้อยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคจากการบริโภค เนื้อ นม ไข่ ที่ผลิตในระบบเกษตรเคมี ลดภาระของรัฐในการดำเนินการควบคุมและการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในเนื้อ นม ไข่ ลงได้
2. องค์ประกอบเกษตรอินทรีย์
องค์ประกอบเกษตรอินทรีย์มีวงจรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
•หลักการเกษตรอินทรีย์
•มาตรฐานและกระบวนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
•กระบวนการผลิต การแปรรูป การตลาดจนถึงผู้บริโภค
2.1 หลักการเกษตรอินทรีย์สากล
หลักการเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกมีหลักการเดียวกัน แต่มีวิธีปฏิบัติที่หลากหลายขึ้นกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นที่ต่างกัน โดยยึดตามหลักสากลของ IFOAM 4 ประการ คือ
•หลักของสุขภาพ Health เกษตรอินทรีย์จะทำให้ดินมีความอุดมสมบรูณ์ พืชมีสุขภาพดีงอกงาม สัตว์กินพืชที่ปราศจากสารพิษทำให้สมบรูณ์ มีผลให้คนบริโภคมีสุขภาพที่ดีด้วย คนจะไม่สามารถแยกออกจากระบบนิเวศที่อาศัยอยู่ได้ ดังนั้นระบบนิเวศที่สมบรูณ์ มนุษย์ที่อาศัยจึงอยู่อย่างสุขสบายทิวทัศน์งดงามต่อจิตใจ สังคมอยู่อย่างสงบสุข
•หลักของระบบนิเวศน์ Ecology การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์จะต้องจัดการในฟาร์มให้ผสมกลมกลืนและเกื้อกูลกันของ ดิน พืช สัตว์ โดยการวางแผนการจัดการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของอินทรีย์สารในฟาร์มมากที่สุด การนำกลับมาใช้ใหม่หลายรอบ เช่น วางแผนปลูกพืชอาหารสัตว์ สัตว์กินพืช ถ่ายมูลเป็นปุ๋ยให้กับพืช น้ำเสียจากการเลี้ยงสัตว์นำกลับมาใช้กับพืช เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เกี่ยวข้องการผลิต การแปรรูป การตลาดและการบริโภคจะต้องปกป้องสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ บรรยากาศ ภูมิทัศน์ที่อยู่อาศัย น้ำ และดิน เพื่อให้ทุกชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย
•หลักของความเป็นธรรม Fairness การทำเกษตรอินทรีย์ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของเกษตรกรผลิต ผู้ประกอบการแปรรูป การจัดจำหน่าย และผู้บริโภค เช่นการเข้าถึงอย่างเสมอภาค การค้าที่เป็นธรรม การเคารพสิทธิของสรรพสิ่งในโลก เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกชีวิต ดังนั้นปศุสัตว์อินทรีย์จึงคำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์เป็นสำคัญ การเลี้ยงสัตว์ที่ปล่อยให้สัตว์อยู่อย่างอิสระตามสรีระ และพฤติกรรมของสัตว์ทำให้สัตว์ไม่เครียด
•หลักของการมีสำนึกที่ดี Care ผู้เกี่ยวข้องจะต้องมีสำนึกที่ดีในการผลิตที่ไม่เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพของระบบนิเวศ และคุณภาพชีวิตของทุกสิ่ง เข้าใจในระบบนิเวศน์เกษตร ธรรมชาติของสรรพสิ่งที่เกี่ยวพันกันเป็นห่วงโซ่อาหาร เกษตรอินทรีย์จึงไม่ยอมรับให้มีการใช้สารเคมีใดๆและสิ่งมีชีวิตตัดต่อพันธุกรรมจากหลักการดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นที่มาของการปฏิบัติที่หลากหลายวิธีการ แต่ภายใต้หลักการเดียวกัน ทำให้การเกิดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศขึ้นให้สอดคล้องกับทรัพยากรในท้องถิ่น สังคมและวัฒนธรรม องค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่
สำหรับหลักการการผลิตและการแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์อินทรีย์นั้น สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ IFOAM ได้กำหนดวัตถุประสงค์ในเชิงปรัชญาเพื่อเป็นหลักปฏิบัติดังนี้
•เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง , เส้นใย และผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอต่อการบริโภค
•เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลกันของวงจรธรรมชาติ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตในดิน พืช สัตว์ ตลอดกระบวนการผลิต
•เพื่อให้เกิดการตระหนักถึงการปกป้องระบบนิเวศอย่างกว้างขวางขึ้นในสังคม
•เพื่อรักษาและเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ของดินและสิ่งมีชีวิตในดิน โดยการใช้วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระบวนการธรรมชาติและการพึ่งตนเอง
•เพื่อรักษาและส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายของการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ในฟาร์มและบริเวณ โดยการทำ ” เกษตรกรรมยั่งยืน”
•เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยการจัดการฟาร์มให้สามารถคงความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช หรือสัตว์ที่ผลิตในฟาร์ม
•เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบในการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์น้ำและสิ่งมีชีวิตในฟาร์ม
•เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า โดยการนำหมุนเวียนมาใช้ใหม่หลายรอบในกระบวนการผลิตและการแปรรูป เพื่อหลีกเลี่ยงการมีของเสียที่ก่อให้เกิดมลภาวะ
•เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการกระจายผลผลิตขึ้นในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค
•เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลกันระหว่างการปลูกพืชและการจัดการเลี้ยงสัตว์
•เพื่อจัดการเลี้ยงสัตว์ตามพฤติกรรมธรรมชาติของสัตว์แต่ละชนิด
•เพื่อให้เกิดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นวัสดุธรรมชาติซึ่งย่อยสลายง่าย หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้
•เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเกษตรอินทรีย์ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพอย่างปลอดภัย มั่นคง และสภาพแวดล้อมดี
•เพื่อสนับสนุนให้เกิดการจัดการตลอดห่วงโซ่สายพานการผลิตถึงการบริโภคที่รับผิดชอบต่อสังคมและระบบนิเวศ
•เพื่อให้ความสำคัญต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิธีการจัดการเกษตรตามวัฒนธรรมท้องถิ่น
หลักการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์
จากหลักการข้างต้นการเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของเกษตรอินทรีย์ดังได้กล่าวมาแล้ว เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยในระยะแรกผู้คนจะรู้จักแต่การผลิตพืช เช่น ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้เกิดจากตลาดส่งออก มีบริษัทเอกชน และองค์กรอิสระส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออก ข้าวอินทรีย์ และพืชผักอินทรีย์บางชนิด เช่น ข้าวโพดฝักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น ดังนั้นในความเข้าใจของผู้คนคิดว่าเกษตรอินทรีย์ทำเพื่อส่งออก และมีเฉพาะพืชอินทรีย์เท่านั้น แต่หากเกษตรกรทำพืชอินทรีย์และเลี้ยงสัตว์ด้วยจะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรพืช ผัก ผลไม้ ผลพลอยได้จากพืชนำมาเลี้ยงสัตว์ได้อย่างคุ้มค่า มูลสัตว์ที่ได้นำกลับเป็นปุ๋ยอินทรีย์ให้กับพืช ดังนั้นปศุสัตว์อินทรีย์จึงเหมาะสำหรับเกษตรกรในประเทศไทย และการเกษตรผสมผสาน ใช้ทรัพยากรพืช สัตว์ที่เหมาะกับท้องถิ่น แต่วิธีการปฏิบัติในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไปและไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับการทำปศุสัตว์อินทรีย์แบบเข้มข้น intensive organic livestock system เพื่อขาย เนื้อ นม ไข่อินทรีย์แบบการทำ Biofarm ในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น แถบอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย เนื่องจากเกษตรกรต่างประเทศมีขนาดฟาร์มใหญ่ มีพื้นที่มากจึงสามารถทำครบวงจรโดยการผลิตอาหารสัตว์ในฟาร์มได้ ปศุสัตว์อินทรีย์ในประเทศไทยจึงเหมาะกับระบบการเลี้ยงสัตว์แบบหลังบ้าน และระบบการผลิตในชุมชนขนาดเล็ก แต่การผลิต เนื้อ นมไข่ อินทรีย์เพื่อการค้านั้นก็สามารถทำได้ หากมีการจัดการระบบเครือข่าย ผู้ผลิตอาหารสัตว์ในระบบเกษตรอินทรีย์
ความหมายของเกษตรอินทรีย์สำหรับประเทศไทย ตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติมีดังนี้
เกษตรอินทรีย์ (organic agriculture) หมายถึง ระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบ องค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุ ธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ และไม่ใช้ พืช สัตว์ หรือ จุลินทรีย์ ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรม (genetic modification) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์ และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน ( มกอช.9000 เล่ม 1-2546)
ปศุสัตว์อินทรีย์ (Organic livestock) หมายถึง ระบบการจัดการผลิตปศุสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างผืนดิน พืช สัตว์ที่เหมาะสม เป็นไปตามความต้องการทางสรีระวิทยาและพฤติกรรมสัตว์ ที่ทำให้เกิดความเครียดต่อสัตว์น้อยที่สุด ส่งเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดี เน้นการป้องกันโรคโดยการจัดการฟาร์มที่ดี หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารเคมี ( มกอช.9000 เล่ม 2-2548)
จากความหมายดังกล่าวมีข้อกำหนดที่เป็นรายละเอียดอีกมาก ซึ่งผู้ผลิตควรต้องรู้โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้จากเวบไซท์ของ มกอช. http://www.acfs.go.th/
หลักการจัดการเลี้ยงสัตว์อินทรีย์
เป็นการจัดการเลี้ยงสัตว์ที่ปฏิบัติตามหลักการเกษตรอินทรีย์สากล ไม่แยกกิจกรรมการปลูกพืชอาหารสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ออกจากกัน สัตว์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์เกษตรในฟาร์ม เป็นระบบการจัดการฟาร์มที่เกื้อกูลกัน เริ่มจาก ดินที่อุดมสมบรูณ์ ปราศจากการใช้สารเคมีใดๆที่ทำลายดินและสิ่งมีชีวิตในดิน ปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดังนั้นการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์มีหลักการจัดการและเทคนิคที่สำคัญ ดังนี

1. เป็นระบบการผลิตปศุสัตว์ที่คำนึงถึงความสมดุลของ ดิน พืช สัตว์ ใช้หลักการของความหลากหลายทางชีวภาพ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ และระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลกัน เช่นการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ พืชและเศษเหลือเป็นอาหารสัตว์ มูลสัตว์เป็นอาหารของพืช และจุลินทรีย์ เป็นต้น มีการจัดการระบบของเสียจากฟาร์ม เช่น ปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์โดยใช้มูลสัตว์ในฟาร์มปรับปรุงดิน หรือจัดการหมุนเวียนบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มนำมาใช้กับพืช

2. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและสารสังเคราะห์ใดๆและอาหารสัตว์ที่มาจากการตัดต่อพันธุกรรม ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3. การจัดการฟาร์มที่สมดุลระหว่างการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ ให้เกิดความสมดุลระหว่างจำนวนสัตว์และอาหารสัตว์ในฟาร์ม

4. เน้นการเลือกใช้พันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชอาหารสัตว์ที่เหมาะสม กับทรัพยากร อากาศ สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เช่น ไก่ เป็ด โค กระบือ แพะพื้นเมือง และพันธุ์สัตว์ที่พัฒนาคัดเลือกสายพันธุ์ในประเทศ เนื่องจากทนทานต่อโรค และกินอาหารสัตว์ในท้องถิ่นได้ดี

5.เน้นการจัดการเลี้ยงสัตว์ให้อยู่สุขสบายตามธรรมชาติและพฤติกรรมของสัตว์ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ให้แข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคโดยธรรมชาติ โดยการ

» การจัดระบบสวัสดิภาพสัตว์ จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ความหนาแน่น การระบายอากาศ เช่น เลี้ยงสัตว์แบบปล่อย ให้สัตว์ได้สัมผัส ดิน แสงแดด มีคอก โรงเรือนให้คุ้มแดด ฝน และความร้อนได้ และมีพื้นที่ให้สัตว์ออกกำลัง ลักษณะการจัดการคอกโรงเรือนเป็นไปตามความเหมาะสม โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สอดคล้องกับวัฒนธรรมการปฏิบัติที่ดีต่อสัตว์ ทำให้สัตว์ไม่เครียด มีภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติ

» การจัดการอาหารสัตว์ โดยการจัดสัดส่วนอาหารที่เหมาะสม พิจารณาปลูกพืชอาหารสัตว์ทางเลือกที่ปลูกง่ายในท้องถิ่น มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น ธัญพืช พืชสกัดน้ำมันที่ไม่ใช้สารเคมี ถั่วต่างๆ ใบมันสำปะหลัง ใบกระถิน สาหร่าย การเบียร์ ส่าเหล้า การหมักชีวภาพด้วยจุลินทรีย์ การปลูกต้นกล้วย มีประโยชน์ทุกส่วนเป็นทั้งอาหารและยา การเลี้ยงสุกรและไก่ในแปลงหญ้า หาพืชทดแทนการใช้อาหารสำเร็จรูปจากโรงงานเนื่องจากข้าวโพด กากถั่วเหลืองนำเข้ามาจากการตัดต่อพันธุกรรม

6. มีการจัดการป้องกันโรค เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดโรค ได้แก่ ความสะอาด สุขอนามัยของอุปกรณ์และบริเวณเลี้ยงสัตว์ การควบคุมยานพาหนะและคนเข้าออกฟาร์ม การกักสัตว์ใหม่เข้าฟาร์ม หรือเลี้ยงสัตว์ในที่ห่างไกลจากชุมชน เป็นต้น

7. การใช้สมุนไพร นำหมักชีวภาพที่มาจากสารธรรมชาติ เป็นการป้องกันโรคและเสริมสุขภาพ เช่น การใช้ ส่วนผสมของสมุนไพรผง ฟ้าทะลายโจร ไพล ขมิ้นชัน ในอัตรา 0.1-0.2 % ในอาหารไก่ หรือ สุกร สามารถทดแทนการใช้สารปฏิชีวนะเร่งการเจริญเติบโต และป้องกันโรคทางเดินหายใจและทางเดินอาหารในสัตว์ได้ นอกจากนี้มีภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้สมุนไพรป้องกันและรักษาโรคสัตว์มากมายหลายตำรับ เช่น การถ่ายพยาธิด้วยมะเกลือ หญ้ายาง เป็นต้น

8. เน้นการพึ่งพาตนเองใช้ปัจจัยการผลิตภายในให้มากที่สุด เช่น พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ที่ผลิตได้เอง หรือเครือข่ายที่อยู่ใกล้ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนการผลิต เรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ผสมน้ำให้สัตว์กิน และทำความสะอาดคอก กำจัดกลิ่นในมูลสัตว์

9. เน้นส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นของผลิต และกระตุ้นจิตสำนึกของผู้บริโภค การผลิตเพื่อการบริโภคตลาดในชุมชนและเครือข่ายชุมชนใกล้เคียง เป็นการผลิตในขนาดเล็กที่พอเหมาะ สนับสนุนโรงฆ่าขนาดเล็กในชุมชนทีถูกสุขอนามัยทำให้ ลดการขนส่ง การตลาดและการกระจายสินค้าที่ต้องใช้พลังงานสูง เมื่อผลิตได้มากก็สามารถผลิตขายเป็นรายได้ เป็นการลดปัญหาความยากจนในชนบท

10. มีมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์เป็นกรอบนำในการปฏิบัติ โดยผลิตตามความต้องการของผู้บริโภคแต่ละตลาด ได้แก่ตลาดระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับประเทศคู่ค้า

11. มีการบันทึกรายละเอียดการปฏิบัติงานในฟาร์มที่ละเอียด รวมทั้งแผนผังฟาร์มโรงเรือน แหล่งน้ำ เพื่อรอการตรวจรับรอง

12. ป้องกันการปนเปื้อนสินค้า เนื้อ นม ไข่ อินทรีย์ที่ออกสู่ตลาด ทุกขั้นตอนตลอดสายพานการผลิตจนถึงผู้บริโภค จะต้องป้องกันการปนเปื้อนกับสินค้าที่ผลิตในระบบปกติ เช่น แยกการผลิตอาหารสัตว์ การวางวัตถุดิบ การผลิต การแปรรูป การขนส่ง และการจัดวางจำหน่าย เป็นต้น
คำว่า Organic เป็นสินค้าที่มีความหมายเป็นสากล ผู้ที่จะใช้คำว่า Organic ให้กับสินค้าของตนจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน การผลิต การแปรรูป จากองค์กรกลางที่ได้รับการรับรองระบบงานให้เป็นหน่วยงานรับรองได้เท่านั้น ซึ่งแต่ละประเทศได้มีกฎระเบียบในการคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภคขึ้นเป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เป็นสากล ดังนั้นหากผู้ผลิตต้องการขายสินค้าให้กับประเทศใดจะต้องผลิตตามมาตรฐานของประเทศคู่ค้า และได้รับการรับรองจากหน่วยตรวจรับรองที่ประเทศคู่ค้าให้การยอมรับ
มาตรฐานสากล

•IFOAM Basic standards
•EU regulation No. 2092/91 (plants) และ No. 1804/1999 (animals)
•FAO /WHO Codex Alimentarius
มาตรฐานระดับประเทศ เช่น
•NOP สหรัฐอเมริกา
•KRAV สวีเดน
•Soil Association อังกฤษ
•JAS ประเทศญี่ปุ่น
•มาตรฐานประเทศไทย มกอช. เล่ม 1 และเล่ม 2
กระบวนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย
มีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่
•หน่วยรับรองระบบงาน Accreditation Body: AB เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่า หน่วยงานหรือบุคคลมีความสามารถทางวิชาการในการดำเนินการรับรองระบบงาน เช่น มกอช. มีอำนาจหน้าที่ตามมติครม.ให้เป็นหน่วยรับรองระบบคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ , JAS-ANZ ของประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

•หน่วยรับรองระบบอินทรีย์ Certification body เป็นหน่วยงานที่ตรวจประเมินและรับรองการปฏิบัติของเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่ปฏิบัติตามข้อกำหนด/มาตรฐานของหน่วยตรวจรับรองนั้นๆ อาจเป็นหน่วยราชการหรือเอกชนที่มีความสามารถ ประเทศไทยมีหน่วยรับรองได้แก่

หน่วยรับรองด้านพืช

•กรมวิชาการเกษตร ตรวจรับรองพืชตามมาตรฐาน Organic Thailand

•สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มกท.เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการรับรองระบบงานจาก IFOAM ตรวจรับรองตามมาตรฐานของ มกท.

หน่วยรับรองด้านสัตว์

◦กรมปศุสัตว์ กำลังพัฒนาระบบ

หน่วยรับรองสัตว์น้ำ

◦กรมประมง•ข้อกำหนดมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ( มกอช) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ในการกำหนดและจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งออกข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เล่ม 1: การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหน่ายเกษตรอินทรีย์ และเล่ม 2: ปศุสัตว์อินทรีย์ ได้รับการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้ว เป็นมาตรฐานกลางของประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมาย
4. ระบบการจัดการการตรวจรับรองผลผลิตและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ผู้ผลิตจะต้องแจ้งความประสงค์ขอรับการรับรองจาก CB ซึ่งเป็นมาตรการสมัครใจไม่ได้บังคับ ผู้ผลิตต้องผลิตตามเงื่อนไขตามมาตรฐานของหน่วยรับรอง โดยการตรวจประเมินที่แหล่งผลิต กระบวนการผลิตจากบันทึก หากผ่านการประเมินหน่วยตรวจรับรองจะออกใบรับรองพร้อมสัญลักษณ์ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการค้า แต่หากผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าใจกติกาเงื่อนไขซึ่งกันและกัน อาจใช้วิธีการของชุมชนผู้ผลิตและผู้บริโภครับประกันกันเอง แต่หากผู้ผลิตต้องการผลิตสินค้าเพื่อค้าขายกับผู้บริโภคที่อยู่ห่างไกล ผู้ผลิตจะต้องผลิตตามมาตรฐานเงื่อนไขทางการค้าที่เป็นสากล และมีใบรับรองผลจากหน่วยตรวจรับรองที่ได้รับการรับรองระบบแล้วเท่านั้น
รูปแบบการผลิตสัตว์แบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่
1. การเลี้ยงสัตว์หลังบ้าน ปลูกพืช- เลี้ยงสัตว์ผสมผสาน เช่น ไก่พื้นเมือง โค กระบือ และเลี้ยงปลา ในนาข้าว ตามศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่และแรงงานในครอบครัว หมุนเวียนใช้ทรัพยากรที่เกิดจากการผลิตในฟาร์ม มีการเลี้ยงสัตว์เป็นออมทรัพย์ของครอบครัวใช้มูลเป็นปุ๋ย และเป็นแหล่งอาหารของครอบครัวไม่ต้องใช้เงินสดซื้อหา ไม่อิงตลาด ลงทุนต่ำ สามารถปรับเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ได้เนื่องจากเกษตรกรคุ้นเคยวิธีการผลิต อาจกล่าวได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์แบบเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเองในปัจจัยการผลิต ผลผลิตที่เหลือจึงขายภายในชุมชนเดียวกัน
2. ระดับธุรกิจชุมชน เลี้ยงสัตว์ขนาดเล็ก ขนาดกลางร่วมกับการปลูกพืช อาจทำนาเป็นหลัก เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด สุกร โคเนื้อ โคนมแพะ เป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นรายได้หลัก มีระดับการจัดการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ พันธุ์สัตว์ คอกสัตว์ ใช้อาหารสัตว์จากภายนอกฟาร์ม ยาป้องกันและรักษาโรค การเลี้ยงสัตว์เหล่านี้สามารถปรับเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ได้ โดยการรณรงค์การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ดี ลดความเครียดสัตว์ให้เกิดน้อยที่สุด การเลี้ยงแบบปล่อยไม่หนาแน่น การใช้เรียนรู้การใช้สมุนไพร สารที่ได้จากการหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ ผสมอาหารหรือน้ำดื่มทำให้ลดการใช้ยาเคมีเท่าที่จำเป็น หรืองดใช้ในที่สุด จุดสำคัญคืออาหารสัตว์ที่ใช้จะต้องมาจากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นจะต้องสร้างเครือข่าย ผู้ผลิตอาหารสัตว์อินทรีย์ เช่น ข้าวเปลือก รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ หรือผลิตอาหารสัตว์ใช้เองในฟาร์มหรือในกลุ่มสมาชิก เป็นต้น
3. ระดับการเลี้ยงสัตว์อุตสาหกรรม เป็นการเลี้ยงสัตว์ที่ต้องการผลผลิตจากสัตว์สูงสุด เพื่อการค้า มีการเลี้ยงต่อพื้นที่หนาแน่น ใช้เทคโนโลยี และปัจจัยการผลิตพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ยาป้องกันรักษาโรคตามโปรแกรมของบริษัท ปรับระบบการผลิตเป็นโรงเรือนปิด ป้องกันการสัมผัสเชื้อโรค ฟาร์มในรูปแบบนี้สามารถลดการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตในอาหาร และยาปฏิชีวนะได้ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ประสิทธิผล และมีเพียงพอต่ออุตสาหกรรม จากสมุนไพร และโปรไบโอติก หรือสารอินทรีย์ เช่นเอนไซม์ จากกระบวนการหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์จากสารธรรมชาติ จะเป็นโอกาสหนึ่งในการผลิตสินค้าที่สามารถแข่งขันได้ในอนาคต
ประเภทปศุสัตว์ที่มีโอกาสสูงในการพัฒนาเป็นสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์
1. เนื้อ นม ไข่ ที่เลี้ยงแบบฟาร์มเป็นการค้า ได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร โคขุน และโคนม (เนื้อ นม ไข่) เป็นสินค้าที่มักตรวจพบสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเพิ่มมูลค่า ฉะนั้นในระยะเริ่มต้นควรลดการใช้สารเคมี โดยใช้สมุนไพรและชีวภาพทดแทนการใช้ปฏิชีวนะสารเร่งการเจริญเติบโต ( antibiotic growth promoter) และ สารเคมีเสริมในอาหาร(feed additives) ซึ่งมีรายงานการวิจัยสนับสนุนว่าได้ผลดี ต่อมาพัฒนาการผลิตให้เข้ากับหลักการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์จนสามารถตรวจรับรองได้
2. ปศุสัตว์อินทรีย์เพื่อการพึ่งพาตนเองในชุมชน ได้แก่ ไก่พื้นเมือง สุกร โดยการรวมกลุ่มผลิตและพัฒนาไปสู่การผลิตตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ และเชื่อมโยงหาช่องทางตลาดขายในชุมชน ในจังหวัดทั้งนี้จำเป็นต้องมีการจัดหาช่องทางตลาดที่แยกจากผลผลิตปกติเพื่อกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ
3. โคกระบือ ที่เลี้ยงโดยเกษตรรายย่อย เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดการผลิตเกษตรอินทรีย์ครบวงจร โดยใช้มูลโคกระบือทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืช เช่น ข้าว ผัก ผลไม้ ส่วนเนื้อโคกระบือที่เลี้ยงในแหล่งที่ไม่ได้ใช้สารเคมี ปล่อยให้กินตามธรรมชาติจะมีความเป็นอินทรีย์โดยอัตโนมัติ แต่หากต้องการแปรรูปขายเป็นเนื้อโคกระบืออินทรีย์จะต้องขอรับการตรวจรับรองจากหน่วยรับรอง
จุดเด่นของปศุสัตว์อินทรีย์
1. ผลผลิตปลอดภัย และมีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น จากผลการวิจัยจากต่างประเทศ เนื้อ นมโคที่เลี้ยงด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ เลี้ยงปล่อยในแปลงหญ้าจะมีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น Conjugated Linolic acid (CLA),Linolenic acid และ Ω 3 fatty acid ซึ่งมีคุณค่าต่อสุขภาพมนุษย์ ลดความเสี่ยงต่อมะเร็งจากการบริโภคเนื้อ นมที่ใช้สารเคมี ประหยัดเงินตราในการรักษาโรค
2. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจัยการผลิตมาจากวัตถุธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีตกค้างในมูล ในของเสียที่ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม เช่นการเลี้ยงโค ที่ใช้ยาเคมีกำจัดเห็บจะตกค้างในดินเป็นเวลานาน และเห็บจะดื้อยาทำให้ต้องใช้ยาที่แรงขึ้นเรื่อย
3. เกษตรกร ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ผลิตสินค้าที่มูลค่าเพิ่ม ลดรายจ่ายยาเคมี
4. ประเทศชาติประหยัดเงินตราต่างประเทศ ลดการนำเข้าสารเคมีในการเลี้ยงสัตว์คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าเคมีในการเลี้ยงสัตว์ปีละกว่าหมื่นล้านบาท
5. ลดภาระงบประมาณของรัฐในการตรวจสอบสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์เนื้อ นม ไข่

การดำเนินงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การดำเนินงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จุดประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในชนบท สร้างความมั่นคงให้เกษตรกรในทุกด้าน โดยการรื้อฟื้นภูมิปัญญาและประสบการณ์ของบรรพบุรุษที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานมาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดภาระต้นทุนทางการผลิต ลดปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยและสิ้นเปลือง ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ รวมทั้งก่อให้เกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศน์ ความสมดุลต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม ช่วยให้ทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน นายมนัส  ชุมทอง  ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จึงขอดำเนินงานโครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ ณ บ้าน จสอ.สุพล มาลยาภรณ์ หมู่ที่ 7 ตำบลนาเรียง

การทำของใช้เอง

การทำน้ำมันมะพร้าวสกัด
1.เนื้อมะพร้าวขูด 1 ส่วน
2.น้ำสะอาดสุกอุ่นๆ 1 ส่วน
2.คลุกเคล้าให้เข้ากัน
4.กรองหลายๆครั้ง
5.ใส่ขวดให้เต็ม ทิ้งไว้ 2 คืน เพื่อรอตกตะกอน ตักส่วนที่เป็นน้ำมัน(เก็บได้นาน 6 เดือน - 1 ปี)
สรรพคุณ โลชั่นทาผม,ทาผิวกันแดด
มะพร้าว 1 กก.ได้น้ำมัน 1-1.5 ขีด

วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

การฝึกอบรม ประจำปี 2553


อัดเป็นก้อนเพื่อนำไปใช้





ลุกเคล้า

3.ฟรีมิกซ์+ไดแคลเซียม+ปูนซิเมนต์+รำละเอียด

2.ผสมกากน้ำตาล

1. ยูเรีย + เกลือ

นายณรงค์ แก้วเฉย นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช

คุณปิยะมาศ คะเชนทร์คำแหง วิทยากร

ไปดูงาน

วิทยากรเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดย คุณประมวล พัฒนาการอำเภอลานสกา
นายมนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จัดฝึกอบรมเกษตรกรตามโครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงปี 2553 จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 10 คน แต่ละรุ่นอบรม 3 วัน ณ ศูนย์เครือข่าย ฯ จ.ส.อ.สุพล มาลยาภรณ์ หมู่ที่ 7 ตำบลนาเรียง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยในวันที่ 29 เมษายน 2553 ได้มีการทำ อาหารเสริมใช้เองใน โค - กระบือ