...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยวสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง...อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช...ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี..

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลักการผลิตเกษตรอินทรีย์ด้านปศุสัตว์

1. หลักการและเหตุผล

การเกษตรเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตเบื้องต้นของมนุษย์ การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หาปลา เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเกษตรแบบผสมผสานใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีพและหาเลี้ยงครอบครัว จนกลายเป็นแบบแผนของสังคมและวัฒนธรรมในการพึ่งพาตนเอง ระบบการเลี้ยงสัตว์หลังบ้านชนิดละไม่มากเกินอาหารที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น การเลี้ยง โค กระบือ ไก่ เป็ด สุกร แพะ ฯลฯ เป็นการลงทุนที่ต่ำ การเลี้ยงไม่ยุ่งยาก โดยมีวัตถุประสงค์หลายประการ ได้แก่ เป็นหลักประกันความอุ่นใจของครอบครัว เป็นมั่นคงทางอาหารมีอาหารบริโภคไม่ต้องซื้อ เป็นออมทรัพย์แหล่งรายได้เมื่อต้องการใช้เงิน หรือลดความเสี่ยงจากพืชผลขายไม่ได้ราคา หรือเกิดภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจน และหนี้สินให้กับเกษตรกรอย่างแท้จริง แต่การผลิตเชิงเดี่ยวเพื่อเศรษฐกิจตัวเงินเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จนั้น เน้นการค้าเพื่อการส่งออก เช่นปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์เชิงอุตสาหกรรม เป็นการผลิตสินค้าขายให้กับผู้ที่อยู่ไกล และใช้ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีที่ต้องซื้อหาจากภายนอกและต่างประเทศ เช่น พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ สารเคมีเร่งการเจริญเติบโต ยากำจัดศัตรูพืช สัตว์ อาหารสัตว์จากแดนไกล แยกกิจกรรมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้ใช้พลังงานจากน้ำและน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างฟุ่มเฟือยในการกิจกรรมตลอดห่วงโซ่สายพานการผลิตถึงผู้บริโภค เป็นการผลิตที่ไม่ยั่งยืน ทำลายความอุดมสมบรูณ์ของดิน แหล่งน้ำและเกิดภาวะมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีผลต่อพืชสะสมสารพิษ สัตว์กินพืชที่มีสารพิษ สัตว์น้ำสะสมสารพิษ มีผลต่อสุขภาพของคนบริโภคก่อให้เกิดมะเร็ง และดื้อยาปฏิชีวนะ อีกทั้งทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ถูกทำลาย เกิดความไม่สมดุลของธรรมชาติซึ่งจะกลับมาทำร้ายมนุษย์ นอกจากนี้เกษตรกรยังยากจนเหมือนเดิม ดังนั้นในระดับสากลจึงเกิดกระแสเรียกร้องให้รัฐและผู้คนตระหนักถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง 3 ด้านคือ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ “ เกษตรอินทรีย์” จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการปรับระบบการผลิตการเกษตร ซึ่งเป็นระบบที่ไม่แยกกิจกรรมปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์ออกจากกัน เป็นการเกษตรที่รวมทุกระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันผู้บริโภคห่วงใยต่อสุขภาพมากขึ้น ความต้องการบริโภคอาหารอินทรีย์ทั่วโลกที่ผลิตจากกระบวนธรรมชาติเพิ่มขึ้นในอัตราประมาณ 10-20% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 25,000 ล้านเหรียญ(ปี2004 ) สินค้าที่สำคัญ คือ เนื้อ นม ไข่อินทรีย์ การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์เป็นรูปแบบใหม่ของการเลี้ยงสัตว์ มีกระบวนการที่สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตของคนในชนบท เป็นการนำวิถีการผลิตแบบเก่าดั้งเดิมมาจัดการใหม่ให้เพิ่มมูลค่า ฉะนั้นจำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตให้มีคุณภาพ สร้างการมีส่วนร่วมที่เข็มแข็ง ทั้งระดับนโยบาย การจัดการรวมพลัง ทุกภาคส่วน สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดผลผลิตใหม่ที่ปลอดภัย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อคนไทยได้บริโภคสิ่งที่ดี ทำให้สุขภาพของคนไทยแข็งแรง สิ่งแวดล้อมดี พึ่งพาตนเองได้ ทำให้เกิดเศรษฐกิจอาหารท้องถิ่น ลดการใช้พลังงานในการผลิตและขนส่งอาหารและวัตถุดิบ ทำให้คุณภาพชีวิตสูงขึ้น ลดรายจ่ายในการรักษาพยาบาล ส่วนการส่งออกจะเป็นเป้าหมายรองเมื่อมีการผลิตที่เพียงพอต่อการบริโภคภายในแล้ว โดยการนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการปฏิบัติ “ เกษตรอินทรีย์” เป็นการผลิตเกษตรที่ผสมผสานระบบการเกษตรทุกระบบ ที่ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ อีกทั้งมีระบบมาตรฐานที่เป็นสากล ทำให้สามารถสร้างความมั่นใจในคุณภาพให้กับผู้บริโภค

สินค้าอาหารอินทรีย์ Organic food เป็นหนึ่งในกระบวนการอาหารปลอดภัย( Food safety ) เป็นอาหารที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด เป็น Premiumfood สำหรับตลาดบน หรือผู้ที่ห่วงใยต่อสุขภาพของตนและผู้มีจิตสำนึกต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกษตรอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีใดๆในกระบวนการผลิต ป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการแปรรูป และการรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ ธรรมชาติ ดังนั้น สินค้า เนื้อ นม ไข่อินทรีย์ จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง ประชาชนมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง คนดื้อยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคจากการบริโภค เนื้อ นม ไข่ ที่ผลิตในระบบเกษตรเคมี ลดภาระของรัฐในการดำเนินการควบคุมและการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในเนื้อ นม ไข่ ลงได้
2. องค์ประกอบเกษตรอินทรีย์
องค์ประกอบเกษตรอินทรีย์มีวงจรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
•หลักการเกษตรอินทรีย์
•มาตรฐานและกระบวนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
•กระบวนการผลิต การแปรรูป การตลาดจนถึงผู้บริโภค
2.1 หลักการเกษตรอินทรีย์สากล
หลักการเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกมีหลักการเดียวกัน แต่มีวิธีปฏิบัติที่หลากหลายขึ้นกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นที่ต่างกัน โดยยึดตามหลักสากลของ IFOAM 4 ประการ คือ
•หลักของสุขภาพ Health เกษตรอินทรีย์จะทำให้ดินมีความอุดมสมบรูณ์ พืชมีสุขภาพดีงอกงาม สัตว์กินพืชที่ปราศจากสารพิษทำให้สมบรูณ์ มีผลให้คนบริโภคมีสุขภาพที่ดีด้วย คนจะไม่สามารถแยกออกจากระบบนิเวศที่อาศัยอยู่ได้ ดังนั้นระบบนิเวศที่สมบรูณ์ มนุษย์ที่อาศัยจึงอยู่อย่างสุขสบายทิวทัศน์งดงามต่อจิตใจ สังคมอยู่อย่างสงบสุข
•หลักของระบบนิเวศน์ Ecology การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์จะต้องจัดการในฟาร์มให้ผสมกลมกลืนและเกื้อกูลกันของ ดิน พืช สัตว์ โดยการวางแผนการจัดการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของอินทรีย์สารในฟาร์มมากที่สุด การนำกลับมาใช้ใหม่หลายรอบ เช่น วางแผนปลูกพืชอาหารสัตว์ สัตว์กินพืช ถ่ายมูลเป็นปุ๋ยให้กับพืช น้ำเสียจากการเลี้ยงสัตว์นำกลับมาใช้กับพืช เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เกี่ยวข้องการผลิต การแปรรูป การตลาดและการบริโภคจะต้องปกป้องสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ บรรยากาศ ภูมิทัศน์ที่อยู่อาศัย น้ำ และดิน เพื่อให้ทุกชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย
•หลักของความเป็นธรรม Fairness การทำเกษตรอินทรีย์ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของเกษตรกรผลิต ผู้ประกอบการแปรรูป การจัดจำหน่าย และผู้บริโภค เช่นการเข้าถึงอย่างเสมอภาค การค้าที่เป็นธรรม การเคารพสิทธิของสรรพสิ่งในโลก เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกชีวิต ดังนั้นปศุสัตว์อินทรีย์จึงคำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์เป็นสำคัญ การเลี้ยงสัตว์ที่ปล่อยให้สัตว์อยู่อย่างอิสระตามสรีระ และพฤติกรรมของสัตว์ทำให้สัตว์ไม่เครียด
•หลักของการมีสำนึกที่ดี Care ผู้เกี่ยวข้องจะต้องมีสำนึกที่ดีในการผลิตที่ไม่เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพของระบบนิเวศ และคุณภาพชีวิตของทุกสิ่ง เข้าใจในระบบนิเวศน์เกษตร ธรรมชาติของสรรพสิ่งที่เกี่ยวพันกันเป็นห่วงโซ่อาหาร เกษตรอินทรีย์จึงไม่ยอมรับให้มีการใช้สารเคมีใดๆและสิ่งมีชีวิตตัดต่อพันธุกรรมจากหลักการดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นที่มาของการปฏิบัติที่หลากหลายวิธีการ แต่ภายใต้หลักการเดียวกัน ทำให้การเกิดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศขึ้นให้สอดคล้องกับทรัพยากรในท้องถิ่น สังคมและวัฒนธรรม องค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่
สำหรับหลักการการผลิตและการแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์อินทรีย์นั้น สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ IFOAM ได้กำหนดวัตถุประสงค์ในเชิงปรัชญาเพื่อเป็นหลักปฏิบัติดังนี้
•เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง , เส้นใย และผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอต่อการบริโภค
•เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลกันของวงจรธรรมชาติ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตในดิน พืช สัตว์ ตลอดกระบวนการผลิต
•เพื่อให้เกิดการตระหนักถึงการปกป้องระบบนิเวศอย่างกว้างขวางขึ้นในสังคม
•เพื่อรักษาและเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ของดินและสิ่งมีชีวิตในดิน โดยการใช้วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระบวนการธรรมชาติและการพึ่งตนเอง
•เพื่อรักษาและส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายของการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ในฟาร์มและบริเวณ โดยการทำ ” เกษตรกรรมยั่งยืน”
•เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยการจัดการฟาร์มให้สามารถคงความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช หรือสัตว์ที่ผลิตในฟาร์ม
•เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบในการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์น้ำและสิ่งมีชีวิตในฟาร์ม
•เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า โดยการนำหมุนเวียนมาใช้ใหม่หลายรอบในกระบวนการผลิตและการแปรรูป เพื่อหลีกเลี่ยงการมีของเสียที่ก่อให้เกิดมลภาวะ
•เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการกระจายผลผลิตขึ้นในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค
•เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลกันระหว่างการปลูกพืชและการจัดการเลี้ยงสัตว์
•เพื่อจัดการเลี้ยงสัตว์ตามพฤติกรรมธรรมชาติของสัตว์แต่ละชนิด
•เพื่อให้เกิดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นวัสดุธรรมชาติซึ่งย่อยสลายง่าย หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้
•เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเกษตรอินทรีย์ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพอย่างปลอดภัย มั่นคง และสภาพแวดล้อมดี
•เพื่อสนับสนุนให้เกิดการจัดการตลอดห่วงโซ่สายพานการผลิตถึงการบริโภคที่รับผิดชอบต่อสังคมและระบบนิเวศ
•เพื่อให้ความสำคัญต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิธีการจัดการเกษตรตามวัฒนธรรมท้องถิ่น
หลักการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์
จากหลักการข้างต้นการเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของเกษตรอินทรีย์ดังได้กล่าวมาแล้ว เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยในระยะแรกผู้คนจะรู้จักแต่การผลิตพืช เช่น ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้เกิดจากตลาดส่งออก มีบริษัทเอกชน และองค์กรอิสระส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออก ข้าวอินทรีย์ และพืชผักอินทรีย์บางชนิด เช่น ข้าวโพดฝักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น ดังนั้นในความเข้าใจของผู้คนคิดว่าเกษตรอินทรีย์ทำเพื่อส่งออก และมีเฉพาะพืชอินทรีย์เท่านั้น แต่หากเกษตรกรทำพืชอินทรีย์และเลี้ยงสัตว์ด้วยจะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรพืช ผัก ผลไม้ ผลพลอยได้จากพืชนำมาเลี้ยงสัตว์ได้อย่างคุ้มค่า มูลสัตว์ที่ได้นำกลับเป็นปุ๋ยอินทรีย์ให้กับพืช ดังนั้นปศุสัตว์อินทรีย์จึงเหมาะสำหรับเกษตรกรในประเทศไทย และการเกษตรผสมผสาน ใช้ทรัพยากรพืช สัตว์ที่เหมาะกับท้องถิ่น แต่วิธีการปฏิบัติในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไปและไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับการทำปศุสัตว์อินทรีย์แบบเข้มข้น intensive organic livestock system เพื่อขาย เนื้อ นม ไข่อินทรีย์แบบการทำ Biofarm ในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น แถบอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย เนื่องจากเกษตรกรต่างประเทศมีขนาดฟาร์มใหญ่ มีพื้นที่มากจึงสามารถทำครบวงจรโดยการผลิตอาหารสัตว์ในฟาร์มได้ ปศุสัตว์อินทรีย์ในประเทศไทยจึงเหมาะกับระบบการเลี้ยงสัตว์แบบหลังบ้าน และระบบการผลิตในชุมชนขนาดเล็ก แต่การผลิต เนื้อ นมไข่ อินทรีย์เพื่อการค้านั้นก็สามารถทำได้ หากมีการจัดการระบบเครือข่าย ผู้ผลิตอาหารสัตว์ในระบบเกษตรอินทรีย์
ความหมายของเกษตรอินทรีย์สำหรับประเทศไทย ตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติมีดังนี้
เกษตรอินทรีย์ (organic agriculture) หมายถึง ระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบ องค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุ ธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ และไม่ใช้ พืช สัตว์ หรือ จุลินทรีย์ ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรม (genetic modification) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์ และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน ( มกอช.9000 เล่ม 1-2546)
ปศุสัตว์อินทรีย์ (Organic livestock) หมายถึง ระบบการจัดการผลิตปศุสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างผืนดิน พืช สัตว์ที่เหมาะสม เป็นไปตามความต้องการทางสรีระวิทยาและพฤติกรรมสัตว์ ที่ทำให้เกิดความเครียดต่อสัตว์น้อยที่สุด ส่งเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดี เน้นการป้องกันโรคโดยการจัดการฟาร์มที่ดี หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารเคมี ( มกอช.9000 เล่ม 2-2548)
จากความหมายดังกล่าวมีข้อกำหนดที่เป็นรายละเอียดอีกมาก ซึ่งผู้ผลิตควรต้องรู้โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้จากเวบไซท์ของ มกอช. http://www.acfs.go.th/
หลักการจัดการเลี้ยงสัตว์อินทรีย์
เป็นการจัดการเลี้ยงสัตว์ที่ปฏิบัติตามหลักการเกษตรอินทรีย์สากล ไม่แยกกิจกรรมการปลูกพืชอาหารสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ออกจากกัน สัตว์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์เกษตรในฟาร์ม เป็นระบบการจัดการฟาร์มที่เกื้อกูลกัน เริ่มจาก ดินที่อุดมสมบรูณ์ ปราศจากการใช้สารเคมีใดๆที่ทำลายดินและสิ่งมีชีวิตในดิน ปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดังนั้นการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์มีหลักการจัดการและเทคนิคที่สำคัญ ดังนี

1. เป็นระบบการผลิตปศุสัตว์ที่คำนึงถึงความสมดุลของ ดิน พืช สัตว์ ใช้หลักการของความหลากหลายทางชีวภาพ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ และระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลกัน เช่นการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ พืชและเศษเหลือเป็นอาหารสัตว์ มูลสัตว์เป็นอาหารของพืช และจุลินทรีย์ เป็นต้น มีการจัดการระบบของเสียจากฟาร์ม เช่น ปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์โดยใช้มูลสัตว์ในฟาร์มปรับปรุงดิน หรือจัดการหมุนเวียนบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มนำมาใช้กับพืช

2. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและสารสังเคราะห์ใดๆและอาหารสัตว์ที่มาจากการตัดต่อพันธุกรรม ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3. การจัดการฟาร์มที่สมดุลระหว่างการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ ให้เกิดความสมดุลระหว่างจำนวนสัตว์และอาหารสัตว์ในฟาร์ม

4. เน้นการเลือกใช้พันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชอาหารสัตว์ที่เหมาะสม กับทรัพยากร อากาศ สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เช่น ไก่ เป็ด โค กระบือ แพะพื้นเมือง และพันธุ์สัตว์ที่พัฒนาคัดเลือกสายพันธุ์ในประเทศ เนื่องจากทนทานต่อโรค และกินอาหารสัตว์ในท้องถิ่นได้ดี

5.เน้นการจัดการเลี้ยงสัตว์ให้อยู่สุขสบายตามธรรมชาติและพฤติกรรมของสัตว์ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ให้แข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคโดยธรรมชาติ โดยการ

» การจัดระบบสวัสดิภาพสัตว์ จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ความหนาแน่น การระบายอากาศ เช่น เลี้ยงสัตว์แบบปล่อย ให้สัตว์ได้สัมผัส ดิน แสงแดด มีคอก โรงเรือนให้คุ้มแดด ฝน และความร้อนได้ และมีพื้นที่ให้สัตว์ออกกำลัง ลักษณะการจัดการคอกโรงเรือนเป็นไปตามความเหมาะสม โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สอดคล้องกับวัฒนธรรมการปฏิบัติที่ดีต่อสัตว์ ทำให้สัตว์ไม่เครียด มีภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติ

» การจัดการอาหารสัตว์ โดยการจัดสัดส่วนอาหารที่เหมาะสม พิจารณาปลูกพืชอาหารสัตว์ทางเลือกที่ปลูกง่ายในท้องถิ่น มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น ธัญพืช พืชสกัดน้ำมันที่ไม่ใช้สารเคมี ถั่วต่างๆ ใบมันสำปะหลัง ใบกระถิน สาหร่าย การเบียร์ ส่าเหล้า การหมักชีวภาพด้วยจุลินทรีย์ การปลูกต้นกล้วย มีประโยชน์ทุกส่วนเป็นทั้งอาหารและยา การเลี้ยงสุกรและไก่ในแปลงหญ้า หาพืชทดแทนการใช้อาหารสำเร็จรูปจากโรงงานเนื่องจากข้าวโพด กากถั่วเหลืองนำเข้ามาจากการตัดต่อพันธุกรรม

6. มีการจัดการป้องกันโรค เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดโรค ได้แก่ ความสะอาด สุขอนามัยของอุปกรณ์และบริเวณเลี้ยงสัตว์ การควบคุมยานพาหนะและคนเข้าออกฟาร์ม การกักสัตว์ใหม่เข้าฟาร์ม หรือเลี้ยงสัตว์ในที่ห่างไกลจากชุมชน เป็นต้น

7. การใช้สมุนไพร นำหมักชีวภาพที่มาจากสารธรรมชาติ เป็นการป้องกันโรคและเสริมสุขภาพ เช่น การใช้ ส่วนผสมของสมุนไพรผง ฟ้าทะลายโจร ไพล ขมิ้นชัน ในอัตรา 0.1-0.2 % ในอาหารไก่ หรือ สุกร สามารถทดแทนการใช้สารปฏิชีวนะเร่งการเจริญเติบโต และป้องกันโรคทางเดินหายใจและทางเดินอาหารในสัตว์ได้ นอกจากนี้มีภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้สมุนไพรป้องกันและรักษาโรคสัตว์มากมายหลายตำรับ เช่น การถ่ายพยาธิด้วยมะเกลือ หญ้ายาง เป็นต้น

8. เน้นการพึ่งพาตนเองใช้ปัจจัยการผลิตภายในให้มากที่สุด เช่น พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ที่ผลิตได้เอง หรือเครือข่ายที่อยู่ใกล้ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนการผลิต เรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ผสมน้ำให้สัตว์กิน และทำความสะอาดคอก กำจัดกลิ่นในมูลสัตว์

9. เน้นส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นของผลิต และกระตุ้นจิตสำนึกของผู้บริโภค การผลิตเพื่อการบริโภคตลาดในชุมชนและเครือข่ายชุมชนใกล้เคียง เป็นการผลิตในขนาดเล็กที่พอเหมาะ สนับสนุนโรงฆ่าขนาดเล็กในชุมชนทีถูกสุขอนามัยทำให้ ลดการขนส่ง การตลาดและการกระจายสินค้าที่ต้องใช้พลังงานสูง เมื่อผลิตได้มากก็สามารถผลิตขายเป็นรายได้ เป็นการลดปัญหาความยากจนในชนบท

10. มีมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์เป็นกรอบนำในการปฏิบัติ โดยผลิตตามความต้องการของผู้บริโภคแต่ละตลาด ได้แก่ตลาดระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับประเทศคู่ค้า

11. มีการบันทึกรายละเอียดการปฏิบัติงานในฟาร์มที่ละเอียด รวมทั้งแผนผังฟาร์มโรงเรือน แหล่งน้ำ เพื่อรอการตรวจรับรอง

12. ป้องกันการปนเปื้อนสินค้า เนื้อ นม ไข่ อินทรีย์ที่ออกสู่ตลาด ทุกขั้นตอนตลอดสายพานการผลิตจนถึงผู้บริโภค จะต้องป้องกันการปนเปื้อนกับสินค้าที่ผลิตในระบบปกติ เช่น แยกการผลิตอาหารสัตว์ การวางวัตถุดิบ การผลิต การแปรรูป การขนส่ง และการจัดวางจำหน่าย เป็นต้น
คำว่า Organic เป็นสินค้าที่มีความหมายเป็นสากล ผู้ที่จะใช้คำว่า Organic ให้กับสินค้าของตนจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน การผลิต การแปรรูป จากองค์กรกลางที่ได้รับการรับรองระบบงานให้เป็นหน่วยงานรับรองได้เท่านั้น ซึ่งแต่ละประเทศได้มีกฎระเบียบในการคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภคขึ้นเป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เป็นสากล ดังนั้นหากผู้ผลิตต้องการขายสินค้าให้กับประเทศใดจะต้องผลิตตามมาตรฐานของประเทศคู่ค้า และได้รับการรับรองจากหน่วยตรวจรับรองที่ประเทศคู่ค้าให้การยอมรับ
มาตรฐานสากล

•IFOAM Basic standards
•EU regulation No. 2092/91 (plants) และ No. 1804/1999 (animals)
•FAO /WHO Codex Alimentarius
มาตรฐานระดับประเทศ เช่น
•NOP สหรัฐอเมริกา
•KRAV สวีเดน
•Soil Association อังกฤษ
•JAS ประเทศญี่ปุ่น
•มาตรฐานประเทศไทย มกอช. เล่ม 1 และเล่ม 2
กระบวนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย
มีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่
•หน่วยรับรองระบบงาน Accreditation Body: AB เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่า หน่วยงานหรือบุคคลมีความสามารถทางวิชาการในการดำเนินการรับรองระบบงาน เช่น มกอช. มีอำนาจหน้าที่ตามมติครม.ให้เป็นหน่วยรับรองระบบคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ , JAS-ANZ ของประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

•หน่วยรับรองระบบอินทรีย์ Certification body เป็นหน่วยงานที่ตรวจประเมินและรับรองการปฏิบัติของเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่ปฏิบัติตามข้อกำหนด/มาตรฐานของหน่วยตรวจรับรองนั้นๆ อาจเป็นหน่วยราชการหรือเอกชนที่มีความสามารถ ประเทศไทยมีหน่วยรับรองได้แก่

หน่วยรับรองด้านพืช

•กรมวิชาการเกษตร ตรวจรับรองพืชตามมาตรฐาน Organic Thailand

•สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มกท.เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการรับรองระบบงานจาก IFOAM ตรวจรับรองตามมาตรฐานของ มกท.

หน่วยรับรองด้านสัตว์

◦กรมปศุสัตว์ กำลังพัฒนาระบบ

หน่วยรับรองสัตว์น้ำ

◦กรมประมง•ข้อกำหนดมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ( มกอช) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ในการกำหนดและจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งออกข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เล่ม 1: การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหน่ายเกษตรอินทรีย์ และเล่ม 2: ปศุสัตว์อินทรีย์ ได้รับการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้ว เป็นมาตรฐานกลางของประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมาย
4. ระบบการจัดการการตรวจรับรองผลผลิตและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ผู้ผลิตจะต้องแจ้งความประสงค์ขอรับการรับรองจาก CB ซึ่งเป็นมาตรการสมัครใจไม่ได้บังคับ ผู้ผลิตต้องผลิตตามเงื่อนไขตามมาตรฐานของหน่วยรับรอง โดยการตรวจประเมินที่แหล่งผลิต กระบวนการผลิตจากบันทึก หากผ่านการประเมินหน่วยตรวจรับรองจะออกใบรับรองพร้อมสัญลักษณ์ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการค้า แต่หากผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าใจกติกาเงื่อนไขซึ่งกันและกัน อาจใช้วิธีการของชุมชนผู้ผลิตและผู้บริโภครับประกันกันเอง แต่หากผู้ผลิตต้องการผลิตสินค้าเพื่อค้าขายกับผู้บริโภคที่อยู่ห่างไกล ผู้ผลิตจะต้องผลิตตามมาตรฐานเงื่อนไขทางการค้าที่เป็นสากล และมีใบรับรองผลจากหน่วยตรวจรับรองที่ได้รับการรับรองระบบแล้วเท่านั้น
รูปแบบการผลิตสัตว์แบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่
1. การเลี้ยงสัตว์หลังบ้าน ปลูกพืช- เลี้ยงสัตว์ผสมผสาน เช่น ไก่พื้นเมือง โค กระบือ และเลี้ยงปลา ในนาข้าว ตามศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่และแรงงานในครอบครัว หมุนเวียนใช้ทรัพยากรที่เกิดจากการผลิตในฟาร์ม มีการเลี้ยงสัตว์เป็นออมทรัพย์ของครอบครัวใช้มูลเป็นปุ๋ย และเป็นแหล่งอาหารของครอบครัวไม่ต้องใช้เงินสดซื้อหา ไม่อิงตลาด ลงทุนต่ำ สามารถปรับเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ได้เนื่องจากเกษตรกรคุ้นเคยวิธีการผลิต อาจกล่าวได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์แบบเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเองในปัจจัยการผลิต ผลผลิตที่เหลือจึงขายภายในชุมชนเดียวกัน
2. ระดับธุรกิจชุมชน เลี้ยงสัตว์ขนาดเล็ก ขนาดกลางร่วมกับการปลูกพืช อาจทำนาเป็นหลัก เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด สุกร โคเนื้อ โคนมแพะ เป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นรายได้หลัก มีระดับการจัดการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ พันธุ์สัตว์ คอกสัตว์ ใช้อาหารสัตว์จากภายนอกฟาร์ม ยาป้องกันและรักษาโรค การเลี้ยงสัตว์เหล่านี้สามารถปรับเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ได้ โดยการรณรงค์การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ดี ลดความเครียดสัตว์ให้เกิดน้อยที่สุด การเลี้ยงแบบปล่อยไม่หนาแน่น การใช้เรียนรู้การใช้สมุนไพร สารที่ได้จากการหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ ผสมอาหารหรือน้ำดื่มทำให้ลดการใช้ยาเคมีเท่าที่จำเป็น หรืองดใช้ในที่สุด จุดสำคัญคืออาหารสัตว์ที่ใช้จะต้องมาจากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นจะต้องสร้างเครือข่าย ผู้ผลิตอาหารสัตว์อินทรีย์ เช่น ข้าวเปลือก รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ หรือผลิตอาหารสัตว์ใช้เองในฟาร์มหรือในกลุ่มสมาชิก เป็นต้น
3. ระดับการเลี้ยงสัตว์อุตสาหกรรม เป็นการเลี้ยงสัตว์ที่ต้องการผลผลิตจากสัตว์สูงสุด เพื่อการค้า มีการเลี้ยงต่อพื้นที่หนาแน่น ใช้เทคโนโลยี และปัจจัยการผลิตพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ยาป้องกันรักษาโรคตามโปรแกรมของบริษัท ปรับระบบการผลิตเป็นโรงเรือนปิด ป้องกันการสัมผัสเชื้อโรค ฟาร์มในรูปแบบนี้สามารถลดการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตในอาหาร และยาปฏิชีวนะได้ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ประสิทธิผล และมีเพียงพอต่ออุตสาหกรรม จากสมุนไพร และโปรไบโอติก หรือสารอินทรีย์ เช่นเอนไซม์ จากกระบวนการหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์จากสารธรรมชาติ จะเป็นโอกาสหนึ่งในการผลิตสินค้าที่สามารถแข่งขันได้ในอนาคต
ประเภทปศุสัตว์ที่มีโอกาสสูงในการพัฒนาเป็นสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์
1. เนื้อ นม ไข่ ที่เลี้ยงแบบฟาร์มเป็นการค้า ได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร โคขุน และโคนม (เนื้อ นม ไข่) เป็นสินค้าที่มักตรวจพบสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเพิ่มมูลค่า ฉะนั้นในระยะเริ่มต้นควรลดการใช้สารเคมี โดยใช้สมุนไพรและชีวภาพทดแทนการใช้ปฏิชีวนะสารเร่งการเจริญเติบโต ( antibiotic growth promoter) และ สารเคมีเสริมในอาหาร(feed additives) ซึ่งมีรายงานการวิจัยสนับสนุนว่าได้ผลดี ต่อมาพัฒนาการผลิตให้เข้ากับหลักการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์จนสามารถตรวจรับรองได้
2. ปศุสัตว์อินทรีย์เพื่อการพึ่งพาตนเองในชุมชน ได้แก่ ไก่พื้นเมือง สุกร โดยการรวมกลุ่มผลิตและพัฒนาไปสู่การผลิตตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ และเชื่อมโยงหาช่องทางตลาดขายในชุมชน ในจังหวัดทั้งนี้จำเป็นต้องมีการจัดหาช่องทางตลาดที่แยกจากผลผลิตปกติเพื่อกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ
3. โคกระบือ ที่เลี้ยงโดยเกษตรรายย่อย เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดการผลิตเกษตรอินทรีย์ครบวงจร โดยใช้มูลโคกระบือทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืช เช่น ข้าว ผัก ผลไม้ ส่วนเนื้อโคกระบือที่เลี้ยงในแหล่งที่ไม่ได้ใช้สารเคมี ปล่อยให้กินตามธรรมชาติจะมีความเป็นอินทรีย์โดยอัตโนมัติ แต่หากต้องการแปรรูปขายเป็นเนื้อโคกระบืออินทรีย์จะต้องขอรับการตรวจรับรองจากหน่วยรับรอง
จุดเด่นของปศุสัตว์อินทรีย์
1. ผลผลิตปลอดภัย และมีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น จากผลการวิจัยจากต่างประเทศ เนื้อ นมโคที่เลี้ยงด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ เลี้ยงปล่อยในแปลงหญ้าจะมีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น Conjugated Linolic acid (CLA),Linolenic acid และ Ω 3 fatty acid ซึ่งมีคุณค่าต่อสุขภาพมนุษย์ ลดความเสี่ยงต่อมะเร็งจากการบริโภคเนื้อ นมที่ใช้สารเคมี ประหยัดเงินตราในการรักษาโรค
2. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจัยการผลิตมาจากวัตถุธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีตกค้างในมูล ในของเสียที่ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม เช่นการเลี้ยงโค ที่ใช้ยาเคมีกำจัดเห็บจะตกค้างในดินเป็นเวลานาน และเห็บจะดื้อยาทำให้ต้องใช้ยาที่แรงขึ้นเรื่อย
3. เกษตรกร ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ผลิตสินค้าที่มูลค่าเพิ่ม ลดรายจ่ายยาเคมี
4. ประเทศชาติประหยัดเงินตราต่างประเทศ ลดการนำเข้าสารเคมีในการเลี้ยงสัตว์คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าเคมีในการเลี้ยงสัตว์ปีละกว่าหมื่นล้านบาท
5. ลดภาระงบประมาณของรัฐในการตรวจสอบสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์เนื้อ นม ไข่

การดำเนินงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การดำเนินงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จุดประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในชนบท สร้างความมั่นคงให้เกษตรกรในทุกด้าน โดยการรื้อฟื้นภูมิปัญญาและประสบการณ์ของบรรพบุรุษที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานมาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดภาระต้นทุนทางการผลิต ลดปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยและสิ้นเปลือง ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ รวมทั้งก่อให้เกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศน์ ความสมดุลต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม ช่วยให้ทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน นายมนัส  ชุมทอง  ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จึงขอดำเนินงานโครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ ณ บ้าน จสอ.สุพล มาลยาภรณ์ หมู่ที่ 7 ตำบลนาเรียง

การทำของใช้เอง

การทำน้ำมันมะพร้าวสกัด
1.เนื้อมะพร้าวขูด 1 ส่วน
2.น้ำสะอาดสุกอุ่นๆ 1 ส่วน
2.คลุกเคล้าให้เข้ากัน
4.กรองหลายๆครั้ง
5.ใส่ขวดให้เต็ม ทิ้งไว้ 2 คืน เพื่อรอตกตะกอน ตักส่วนที่เป็นน้ำมัน(เก็บได้นาน 6 เดือน - 1 ปี)
สรรพคุณ โลชั่นทาผม,ทาผิวกันแดด
มะพร้าว 1 กก.ได้น้ำมัน 1-1.5 ขีด

วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

การฝึกอบรม ประจำปี 2553


อัดเป็นก้อนเพื่อนำไปใช้





ลุกเคล้า

3.ฟรีมิกซ์+ไดแคลเซียม+ปูนซิเมนต์+รำละเอียด

2.ผสมกากน้ำตาล

1. ยูเรีย + เกลือ

นายณรงค์ แก้วเฉย นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช

คุณปิยะมาศ คะเชนทร์คำแหง วิทยากร

ไปดูงาน

วิทยากรเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดย คุณประมวล พัฒนาการอำเภอลานสกา
นายมนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จัดฝึกอบรมเกษตรกรตามโครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงปี 2553 จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 10 คน แต่ละรุ่นอบรม 3 วัน ณ ศูนย์เครือข่าย ฯ จ.ส.อ.สุพล มาลยาภรณ์ หมู่ที่ 7 ตำบลนาเรียง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยในวันที่ 29 เมษายน 2553 ได้มีการทำ อาหารเสริมใช้เองใน โค - กระบือ

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การใช้สมุนไพรในไก่

1.ฟ้าทะลายโจร 144 กรัม
2.ไพล 29 กรัม
3.ขมิ้น 9 กรัม
ผสมอาหาร 100 กิโลกรัม
หรือ
1.ฟ้าทะลายโจร 18 กรัม
2.ไพล 12 กรัม
3.ขมิ้น 15 กรัม
ผสมอาหาร 100 กิโลกรัม

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เกษตรกรที่ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

นายมนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี ติดตามเกษตรกรเครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์หลายรายมีรายหนึ่งที่น่าสนใจ

นายไชยา กิ่งรัตน์ อายุ 38 ปี บ้านเลขที่ 56/2 หมู่ 4 ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนปี 2543 มีอาชีพรับจ้าง ทำงานก่อสร้าง ในเมืองกรุง และได้รับผลกระทบจากวิกฤษเศรษฐกิจ จึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนา จากเนื้อที่ทำกินที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ จำนวน 15 ไร่ นายไชยา ได้ผันชีวิตตนเอง เป็นเกษตรกร รูปแบบการผลิต-เกษตรผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสวนมังคุด 6 ไร่,สวนเงาะ 5 ไร่ และยางพารา 4 ไร่ และได้ปลูกลองกองแซมในสวนเงาะ และมังคุด พร้อมกับปลูก มะนาว 150 ต้น เสริมอีกชั้นหนึ่ง และรอบบริเวณบ้านยังปลูก มะละกอ กล้วย ผักเขลียง และปลูกผักสวนครัวแบบกระสอบ เช่น พริก ตระไคร้ มะเขือ แตงกวา บวบ ฟักเขียว ทำให้มีกิจกรรมทำในสวนตลอด นอกจากนั้นได้ปลูกถั่ว ,แตงโม,แตงกวา ในพื้นที่ว่างของเพื่อนบ้านที่ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และเพิ่มกิจกรรม การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก


โรงปุ๋ยหมัก

บ่อเลี้ยงปลานิล

บ่อปลาดุก

ปลูกแตงกวาในพื้นที่เพื่อนบ้าน

การเลี้ยงสัตว์
เลี้ยงวัว ๕ ตัว เลี้ยง เพื่อใช้มูลแทนปุ๋ยเคมี และทำปุ๋ยหมัก ให้สวนเป็นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมี
ไก่พื้นเมือง และเป็ดเทศ แบบอินทรีย์ประมาณ 4๐ ตัว เป็นรายได้เสริม ทำให้มีอาหารโปรตีนที่ปลอดภัยไว้รับประทานอย่างต่อเนื่องพอเพียง ปี 2552ได้รับความไว้วางใจจากกองทัพภาค 4 เป็นเกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียงนำร่อง สำนักงานปศุสัตว์อำเภอจึงคัดเลือกเป็นอาสาปศุสัตว์ และดำเนินโครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2553,โครงการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงและการจัดการที่ลดความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนกและโรคระบาดอื่นในไก่พื้นเมือง ปี 2553
นายไชยา กิ่งรัตน์ โทร. 08-7503-4229